นวัตกรรมเรื่อง
ดึง ดัน ดี ชีวี มีสุข
จากการลงพื้นที่ส ารวจกลุ่มตัวอย่าง เพื่อสอบถามปัญหาสุขภาพชุมชน ที่บ้านดุมใหญ่ ต าบลดุมใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าประชาชนร้อยละ 80 มีปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งมี สาเหตุมาจากการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น เกษตรกรรม ค้าขาย จักรสาน กิจการโรงสีข้าว หรือแม้กระทั่ง กิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ ของชาวบ้านด้วย สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณ แขน ขา หัวไหล่ หลัง ฝ่าเท้า รวมถึงหน้าท้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการด ารงชีวิตประจ าวันของกลุ่มตัวอย่างที่ท า การส ารวจ ดังนั้น นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จึงได้คิดค้น นวัตกรรมสุขภาพ “ดึงดันดี ชีวี มีสุข” ขึ้น เพื่อลดปัญหาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มตัวอย่าง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่างๆและลดการบาดเจ็บจากการทำงาน
2. เพื่อเพิ่มสมรรถภาพ ความยืดหยุ่น และความทนทานของกล้ามเนื้อ
วิธีดำเนินการ :
สำรวจปัญหาในหมู่บ้านดุมใหญ่ตำบลดุมใหญ่อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานีจากนั้น จัดทำนวัตกรรมแล้วทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างและทำการประเมินผลการใช้นวัตกรรม
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินการทดลองใช้นวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรม “ดึง ดัน ดี ชีวีมีสุข”เป็นนวัตกรรมที่มีวัสดุ อุปกรณ์ในการช่วยลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ เช่น เครื่องบริหารเท้า ที่ช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อยบริเวณ ฝ่าเท้า หรือ ยางยืดเพิ่มแรงต้านในการดึง ที่สามารถปรับระดับการยืดเหยียดของกล้ามเนื้อได้ 3 ระดับ เป็นต้น และพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพลดลง การบาดเจ็บหรือการฉีกขาด ของกล้ามเนื้อจากการท างานลดลง มีสมรรถภาพทางกาย เช่น ความยืดหยุ่นของร่างกาย ความทนทานของกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ บริหารร่างกายในตอนเช้า ในเวลาว่าง หรือก่อนการ ท างาน ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีวิถีการด ารงชีวิตประจ าวันที่ดีขึ้น สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องตัว ว่องไว และกระฉับกระเฉง ท างานต่างๆได้นานขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย มีประสิทธิภาพในการท างานเพิ่มมากขึ้น
ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม
1.หาซื้อและจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ ในการทำให้ครบถ้วน
2.วัดขนาดไม้และตัดให้ได้ตามต้องการ
2.1 ไม้เบญจพรรณ 30 เซนติเมตร จำนวน 12 ท่อน
2.2 ไม้อัดขนาด 60x30 เซนติเมตร จำนวน 1 แผ่น
2.3 ไม้อัดขนาด 30x30 เซนติเมตร จำนวน 5 แผ่น
2.4 ไม้เบญจพรรณ 10 เซนติเมตร จำนวน 3 ท่อน
2.5 ไม้เบญจพรรณ 60 เซนติเมตร จ านวน 2 ท่อน
หมายเหตุ : ขนาดของอุปกรณ์ ยึดตามมาตรฐานเครื่องวัดความอ่อนตัวด้านหน้า (ส านักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.))
3.นำไม้ที่ตัดเป็นท่อนและไม้อัดที่ตัดเป็นแผ่นประกอบเข้าด้วยกันโดยยึดมาตรฐานตามเครื่องวัดควาอ่อนตัว
ด้านหน้า (ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.))
5.นำไม้เบญจพรรณที่ตัดไว้ ขนาด 30 เซนติเมตร ยึดไว้ด้านหลังเครื่อง เป็นเสาหลัก แล้วน าไม้ที่ตัดเป็นท่อน ขนาด 10 เซนติเมตร 3 ท่อนมายึดติดกับเสาหลัก เพื่อทำเป็นที่ปรับระดับ 3 ระดับ
6.จากนั้นขัดไม้ด้วยกระดาษทรายให้เรียบ และติดสเกลวัดความอ่อนตัวด้านซ้ายมือ เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ผลการศึกษา
จากผลการทดลองใช้นวัตกรรม ดึงดันดี ชีวีมีสุข พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองใช้มีความพึงพอใจต่อ การใช้นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 100 มีขั้นตอนการใช้งานที่ สะดวก ไม่ซับซ้อน คิดเป็นร้อยละ 100 ช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการท างานหนักหรือ การท ากิจกรรมต่างๆคิดเป็นร้อยละ 80 ลดอาการปวดเมื่อยตามหลังและเอวคิดเป็นร้อยละ 80 ลดแรงตึง บริเวณกล้ามเนื้อหัวไหล่ แขน และขาคิดเป็นร้อยละ 80 ใช้ในชีวิตประจ าวันได้คิดเป็นร้อยละ 80 เหมาะ ส าหรับทุกเพศทุกวัยคิดเป็นร้อยละ 80 เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาในการออกก าลังกายคิดเป็นร้อยละ 80 และมี รูปแบบเหมาะสมต่อการใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 80 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวัดระดับความพึง พอใจ
สรุปผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินการทดลองใช้นวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรม “ดึง ดัน ดี ชีวีมีสุข”เป็นนวัตกรรมที่มีวัสดุ อุปกรณ์ในการช่วยลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ เช่น เครื่องบริหารเท้า ที่ช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อยบริเวณ ฝ่าเท้า หรือ ยางยืดเพิ่มแรงต้านในการดึง ที่สามารถปรับระดับการยืดเหยียดของกล้ามเนื้อได้ 3 ระดับ เป็นต้น และพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพลดลง การบาดเจ็บหรือการฉีกขาด ของกล้ามเนื้อจากการท างานลดลง มีสมรรถภาพทางกาย เช่น ความยืดหยุ่นของร่างกาย ความทนทานของ กล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ บริหารร่างกายในเวลาเช้า เวลาว่าง หรือก่อนการ ท างาน ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีวิถีการด ารงชีวิตประจ าวันที่ดีขึ้น สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องตัว ว่องไว และกระฉับกระเฉง ท างานต่างๆได้นานขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย มีประสิทธิภาพในการท างานเพิ่มมากขึ้น ประโยชน์และการน าไปใช้
1.บริหารกล้ามเนื้อส่วนแขน ขา หลัง หน้าท้อง และฝ่าเท้า
2.เพื่อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
3.ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นไปอย่างคล่องตัวมีความยืดหยุ่น
4.ป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการฉีกขาดของกล้ามเนื้อในขณะ ออกกำลังกาย
5.ลดอาการเจ็บปวดของข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อ
6.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส าหรับคนที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย
เอกสารอ้างอิง เครื่องวัดความอ่อนตัว. (ม.ป.ป.). เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/hp/procedure.php?id=15 (วันที่ค้นข้อมูล 10 กุมภาภาพันธ์ 2559).